วิชาการศึกษาค้นคว้าและสร้างองค์ความรู้ (Research and Knowledge Formation : IS1)

 การจัดการเรียนรู้รายวิชาเพิ่มเติมการศึกษาค้นคว้าและสร้างองค์ความรู้ (Research and Knowledge Formation : IS1) 
แนวคิดและหลักการ

          รายวิชาเพิ่มเติมการศึกษาค้นคว้าและสร้างองค์ความรู้ (Research and Knowledge Formation : IS1) ประกอบด้วยสาระการค้นคว้าและแสวงหาความรู้เพิ่มเติมอย่างลึกซึ้ง เพื่อให้ผู้เรียนได้พิสูจน์ประเด็นความรู้ข้อค้นพบหรือสมมติฐานของความรู้ที่ได้รับรู้ และส่งเสริมให้ผู้เรียนรู้จักการตรวจสอบความน่าเชื่อถือของแหล่งที่มาของความรู้ รวมทั้งการจัดประสบการณ์ให้ผู้เรียนได้เรียนรู้กระบวนการรับรู้ ในลักษณะที่เป็นวัฒนธรรมของการรับรู้และการรับรู้ที่ใช้ความรู้สึก และปลูกฝังการสร้างความเข้าใจที่เป็นสากลให้แก่ผู้เรียน
          การจัดการเรียนรู้รายวิชาเพิ่มเติมการศึกษาค้นคว้า และสร้างองค์ความรู้มีวัตถุประสงค์ เพื่อให้ผู้เรียนแสดงความคิดเห็นเชิงวิเคราะห์ ตั้งสมมติฐานและหาคำตอบเกี่ยวกับสิ่งที่รู้ ตั้งคำถาม ให้คำอธิบายแสดงความคิดเห็นต่าง ๆ รู้จักหาทางออกในการแก้ปัญหาได้อย่างกระจ่างชัด เชื่อมโยงความรู้ เปรียบเทียบวิธีการแสวงหาความรู้เกี่ยวกับสาขาวิชาต่าง ๆ และวิธีการรับความรู้ (Ways of Knowing) 4 วิธี ได้แก่ 1) วิธีการสร้างความรู้จากการสัมผัสรับรู้ 2) วิธีการสร้างความรู้จากการใช้ภาษา 3) วิธีการสร้างความรู้จากการให้เหตุผล และ 4) วิธีการการสร้างความรู้จากสิ่งที่เป็นอารมณ์

แนวการจัดการเรียนรู้

          1. ครูผู้สอนร่วมกับผู้เรียนในการกำหนด หรือตั้งประเด็นความรู้ หรือหัวข้อเกี่ยวกับ Public Issues หรือ Global Issues สำหรับการศึกษาค้นคว้า เป็นขั้นที่ผู้เรียนจะได้รับรู้ถึงจุดหมาย และมีแรงจูงใจในการเรียนรู้ บทเรียน ผู้สอนสามารถเลือกใช้กิจกรรมต่าง ๆ ในการจัดการเรียนรู้ เช่น
               1.1 การเล่าเรื่องต่าง ๆ ให้ผู้เรียนซักถาม หรือตั้งคำถาม
               1.2 การฉายภาพนิ่งให้ผู้เรียนชมและติดตาม
               1.3 การชวนสนทนา เพื่อให้ผู้เรียนตั้งประเด็นที่ต้องการรู้
               1.4 การกระตุ้นความสนใจด้วยเกม เพลง ภาพ ฯลฯ
               1.5 การอ่าน ฟังข่าวจากหนังสือพิมพ์
               1.6 การตั้งประเด็นอภิปราย คำถามสร้างพลังความคิด
               1.7 การยกตัวอย่างประโยค คำพังเพย บทกวี
               1.8 การกำหนด หรือการตั้งประเด็นความรู้ หรือหัวข้อเกี่ยวกับ Public Issues หรือ Global Issues
  
          2. ให้ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับการสร้างองค์ความรู้ 3 ส่วน  ได้แก่ ส่วนที่ 1Ways of Knowing” วิถีการรับรู้ ความรู้ ส่วนที่ 2Areas of Knowledge” ศาสตร์  สาขา แขนงความรู้  ส่วนที่ 3 การเรียบเรียงข้อมูล ข้อค้นพบ ความคิดเห็น การให้เหตุผลในการโต้แย้งและสนับสนุน เพื่อให้ผู้เรียนเข้าใจถึงการกระบวนการสร้างองค์ความรู้ ครูผู้สอนควรมีเทคนิคการจัดการเรียนรู้ที่หลากหลาย ได้แก่
               2.1 การอภิปรายกลุ่ม เพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็น
               2.2 การระดมพลังความคิด
               2.3 การเรียนรู้โดยใช้สถานการณ์จำลอง
          3. ปรับเปลี่ยนความคิด เป็นขั้นตอนสำคัญซึ่งเป็นหัวใจของขั้นตอนการเรียนรู้ ผู้เรียนจะศึกษาค้นคว้าตามประเด็นความรู้ หรือหัวข้อที่ครอบคลุม Public Issues และ Global Issues ครูผู้สอนควรมีเทคนิคการจัดการเรียนรู้ที่หลากหลาย ได้แก่
                 3.1 ทำความกระจ่างและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างกัน ครูผู้สอนจะกระตุ้นให้ผู้เรียนดำเนินกิจกรรมเพื่อสืบค้นข้อมูลจากแหล่งเรียนรู้ต่าง ๆ โดยใช้วิธีการ ดังนี้
                   -  ค้นคว้าจากแหล่งเรียนรู้ต่าง ๆ
                   -  สัมภาษณ์ผู้รู้
                   -  ปฏิบัติการค้นหา (ทดลอง สืบเสาะ สังเกต สำรวจ)
                   -  ร่วมมือเพื่อเขียนคำอธิบาย
                   -  แบ่งงานความรับผิดชอบภายในกลุ่ม
                 3.2 สร้างความคิดใหม่ ผู้เรียนนำผลการอภิปรายและสาธิตที่เป็นผลจากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างกันมากำหนดเป็นความคิดใหม่ หรือความรู้ใหม่ โดยใช้วิธีการ ดังนี้
                   -  เขียนด้วยแผนผังความคิด
                   -  เขียนโครงงาน/โครงการ
                   -  เขียนบรรยาย/เขียนรายงาน
                   -  นำเสนอแนวคิดใหม่
                   -  นำเสนอรูปแบบนวัตกรรมใหม่
                3.3 ประเมินความคิดใหม่ ผู้เรียนออกแบบดำเนินการตรวจสอบความรู้ ความคิดใหม่
ที่ผู้เรียนสร้างขึ้น โดยใช้วิธีการ ดังนี้
                   -  อภิปราย
                   -  ทดสอบผลงาน
                   -  ทดสอบความคิดของกลุ่ม
                   -  ทดสอบความรู้
                3.4 นำความคิดไปใช้ เป็นขั้นตอนที่ผู้เรียนใช้แนวคิด หรือความรู้ความเข้าใจที่ได้พัฒนาขึ้นใหม่ในสถานการณ์ต่าง ๆ จนเกิดการเรียนรู้อย่างมีความหมาย เป็นกิจกรรมที่ต้องการให้ผู้เรียนได้ประมวลองค์ความรู้เพื่อการนำไปใช้ประโยชน์ โดยใช้วิธีการ ดังนี้
                   -  สรุปแผนผังความคิดเกี่ยวกับความรู้ใหม่
                   -  นำเสนอโครงงาน/โครงการที่ผู้เรียนคิดค้น/ประดิษฐ์ขึ้น
                   -  บรรยายสรุปแนวคิดใหม่/การสร้างสถานการณ์ใหม่
                   -  จัดนิทรรศการ/สาธิตผลงานของกลุ่ม
                   -  แสดงบทบาทสมมติ/โต้วาทีเพื่อสรุปการแก้ปัญหา
          4. สะท้อนความคิด/ทบทวน เป็นขั้นตอนที่ผู้เรียนได้ประเมินและพัฒนาความคิดอย่างรอบคอบและต่อเนื่องจนสามารถประเมินผลได้ ประกอบด้วย
               4.1 ประเมินผลงาน
               4.2 เสนอแนะความคิดเห็น เพื่อปรับปรุงและพัฒนา
               4.3 วางแผนเพื่อพัฒนาอย่างต่อเนื่อง
บทบาทของผู้สอน

          1. เปิดโอกาสให้ผู้เรียนสังเกต เพื่อให้สามารถมองเห็นปัญหาได้อย่างชัดเจน
          2. มีปฏิสัมพันธ์กับผู้เรียน แนะนำ ถามให้คิด เพื่อให้ผู้เรียนค้นพบ หรือสร้างความรู้ ความเข้าใจ  ได้ด้วยตนเอง
          3. สร้างแรงจูงใจใฝ่รู้ใฝ่เรียน ช่วยให้ผู้เรียนคิดค้นต่อไป ฝึกให้ผู้เรียนมีทักษะการทำงานเป็นกลุ่ม
          4. เป็นผู้ชี้แนะไม่ใช่ผู้ชี้นำ กระตุ้นให้ผู้เรียนคิดมากกว่าบอกความรู้
          5. ประเมินความคิดรวบยอดของผู้เรียน ตรวจสอบความคิดและทักษะการคิด

บทบาทของผู้เรียน

          1. ค้นคว้า แสวงหาความรู้ ฝึกฝนวิธีการเรียนรู้ด้วยตนเอง เป็นเจ้าของบทเรียน ลงมือ
ปฏิบัติจริง
          2. กระตือรือร้นในการเรียนรู้ กล้าแสดงออก กล้านำเสนอความคิดอย่างสร้างสรรค์
          3. มีปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้เรียนด้วยกันและกับครูผู้สอน ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น เป็นผู้นำและผู้ตามที่ดี
          4. ทำงานร่วมกันเป็นกลุ่ม
          5. เชื่อมโยงความรู้เดิมเข้ากับความรู้ใหม่ มีผลงานที่สร้างสรรค์
          6. เคารพกติกาทางสังคม รับผิดชอบต่อส่วนรวม
          7. มีเจตคติที่ดีต่อการเรียนรู้ รักการอ่าน กล้าซักถาม
          8. บันทึกความรู้อย่างเป็นระบบ นำความรู้สู่การปฏิบัติได้จริง


ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

การตั้งประเด็นปัญหา

คำอธิบายรายวิชาการศึกษาค้นคว้าและสร้างองค์ความรู้ (IS1) ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย